Last updated: 27 มิ.ย. 2560 | 2530 จำนวนผู้เข้าชม |
หมวดที่ 1
ชื่อ เครื่องหมาย ที่ตั้ง
ข้อ 1 สมาคมนี้มีชื่อว่า “สมาคมวิศวกรหม้อน้ำและภาชนะมีความดันไทย” มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “THAI SOCIETY OF BOILER AND PRESSURE VESSEL ENGINEERS ”
ข้อ 2 เครื่องหมายของชมรม
ข้อ 3 สำนักงานของสมาคม ตั้งอยู่ที่ 487 ซ.รามคำแหง 39 (ซ.เทพลีลา1) ถ.รามคำแหง แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
หมวดที่ 2
วัตถุประสงค์
ข้อ 4 สมาคมฯ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
4.1 เพื่อส่งเสริมงานด้านหม้อน้ำและภาชนะมีความดัน แก่สมาชิกและสังคมโดยรวม
4.2 เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพด้านหม้อน้ำและภาชนะมีความดันแก่สมาชิก
เพื่อสนับสนุนและประสานงานระหว่างสถานประกอบการที่มีการใช้ การผลิต การนำเข้า หรือซ่อมหม้อน้ำและภาชนะมีความดัน กับวิศวกร และหน่วยราชการ
เพื่อเสนอแนะกฎหมายเกี่ยวกับหม้อน้ำและภาชนะมีความดันให้สอดคล้องกับความ
สามารถในการปฏิบัติ และเป็นที่ยอมรับของสากล
4.5 เพื่อสร้างมาตรฐานเกี่ยวกับหม้อน้ำและภาชนะมีความดันของประเทศไทย
4.6 เพื่อร่วมมือและประสานงานเกี่ยวกับหม้อน้ำและภาชนะมีความดันกับหน่วยงาน หรือ
สมาคมฯ ชมรม ทั้งในและต่างประเทศ
4.7 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์ภายในกลุ่มสมาชิกไม่ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการเมือง
หมวดที่ 3
กิจกรรม
ข้อ 5 เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ชมรมจะดำเนินกิจกรรมต่อไปนี้
5.1 เผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านหม้อน้ำและภาชนะมีความดันจัดอบรมหรือสัมมนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางด้านหม้อน้ำและภาชนะมีความดันแก่
สมาชิกและผู้เกี่ยวข้อง
5.3 จัดให้มีบริการด้านหม้อน้ำและภาชนะมีความดันแก่สถานประกอบการ
5.4 จัดหาทุนให้สมาชิกเพื่อศึกษาและวิจัยด้านหม้อน้ำและภาชนะมีความดัน
5.5 ส่งเสริมให้มีความร่วมมือและความสามัคคีในกลุ่มสมาชิก
5.6 ส่งเสริมให้สมาชิกได้บำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมส่งเสริมการประสานงานความร่วมมือทางวิชาการด้านหม้อน้ำและภาชนะมีความดันแก่หน่วยงานของรัฐ และเอกชน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
หมวดที่ 4
สมาชิกภาพ
ข้อ 6 สมาชิกของสมาคมมี 3 ประเภท
6.1 สมาชิกสามัญ ได้แก่ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี โท หรือเอก ทางด้านวิศวกรรม สาขาเครื่องกล จากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศ หรือผู้ที่เป็นสมาชิกวิสามัญ มาเป็นเวลา 3 ปี อย่างต่อเนื่อง
6.2 สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ ผู้มีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาใดสาขาหนึ่งทางวิศวกรรมศาสตร์ และปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับหม้อน้ำและภาชนะมีความดัน
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทางวิทยาศาสตร์หรือสาขาอื่น ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับหม้อน้ำและภาชนะมีความดัน
ผู้ควบคุมหม้อน้ำ ที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานที่ทางราชการยอมรับ และคณะกรรมการบริหารมีความเห็นชอบ
6.2.4 นิสิตนักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นไป
6.2.5 ผู้สนใจทั่วไป
6.3 สมาชิกประเภทสถาบัน และนิติบุคคล ได้แก่ หน่วยงานราชการ องค์กรที่เป็นนิติบุคคลหรือสถานประกอบการที่ทำงานเกี่ยวข้องกับหม้อน้ำและภาชนะมีความดัน
ข้อ 7
การเข้าเป็นสมาชิก
ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมฯ ให้ยื่นใบสมัครตามแบบวิธีการและเงื่อนไขที่สมาคมฯ กำหนดไว้ต่อเลขาธิการ โดยมีสมาชิกสามัญรับรองอย่างน้อย 2 คน เมื่อคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ พิจารณาใบสมัครแล้ว ให้เลขาธิการแจ้งให้ผู้สมัครทราบผลการพิจารณาว่า จะรับหรือไม่รับ เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมฯ ภายใน 30 วัน
ข้อ 8 ค่าบำรุง
สมาชิกสามัญ
8.1 เสียค่าบำรุงเป็นรายปีๆ ละ 500 บาท
สมาชิกวิสามัญ
8.2 เสียค่าบำรุงเป็นรายปีๆ ละ 300 บาท
8.3 นิสิตนักศึกษา 100 บาท
สมาชิกประเภทสถาบันและนิติบุคคล
8.4 เสียค่าบำรุงเป็นรายปีๆ ละ 2,000 บาท
ข้อ 9 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
9.1 สิทธิของสมาชิก
ได้บัตรประจำตัวสมาชิกและมีสิทธิประดับเครื่องหมายของสมาคมฯ
มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมฯ ต่อคณะกรรมการบริหาร
มีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่สมาคมฯ จัดตั้ง
มีสิทธิได้รับเอกสารหรือสิ่งตีพิมพ์จากสมาคมฯ
สมาชิกสามัญเท่านั้น มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และมีสิทธิเป็นกรรมการบริหารของ
สมาคมฯ
มีสิทธิเข้าประชุมใหญ่ของสมาคมฯ
9.2 หน้าที่ของสมาชิก
จะต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ และข้อบังคับของสมาคมฯ โดยเคร่งครัด
ประพฤติตนให้สมกับเกียรติที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ
ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจการต่างๆ ของสมาคมฯ
ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาคมฯ ให้แพร่หลาย
แจ้งให้นายทะเบียนสมาคมฯ ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อมีการย้ายที่อยู่หรือที่
ทำงานหรือเปลี่ยนชื่อและนามสกุล
ข้อ 10 สมาชิกภาพของสมาชิกให้สิ้นสุดลงด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
10.1 ตาย
10.2 ลาออก
ประพฤติตนเป็นที่น่ารังเกียจหรือนำความเสื่อมเสียมาสู่ชื่อเสียงของสมาคมฯ อย่างร้ายแรง
ตามที่คณะกรรมการบริหารไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของคณะกรรมการทั้งหมดมีมติให้ออก
ขาดการชำระเงินบำรุงติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยชมรมฯ มีหนังสือทวงถามแล้วไม่น้อย
กว่า 3 ครั้ง
หมวดที่ 5
การประชุมใหญ่
ข้อ 11 การประชุมใหญ่ของสมาคมฯ ให้กระทำโดยประธานสมาคมฯ เป็นผู้เรียกประชุม เพื่อพิจารณาระเบียบวาระดังต่อไปนี้
11.1 แถลงรายงานประจำปีของคณะกรรมการบริหาร
11.2 รายงานการเงินของสมาคมฯ ในรอบปีที่ผ่านมาพร้อมทั้งเสนองบประมาณในปีต่อไป
11.3 เลือกตั้งกรรมการบริหารเมื่อถึงกำหนดตามวาระ
11.4 เลือกตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี
11.5 ปรึกษาพิจารณากิจกรรมอื่นๆ
ข้อ 12 การประชุมใหญ่สามัญซึ่งจัดให้มีขึ้น จะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าประชุมด้วยไม่น้อยกว่า 50 เสียง จึงเป็นองค์ประชุม ในกรณีที่สมาชิกสามัญมาประชุมไม่ครบองค์ประชุมให้ประธานสมาคมเรียกประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งภายใน 30 วัน นับแต่วันครบกำหนดการประชุมครั้งก่อน ในการประชุมคราวนี้สมาชิกมาประชุมเท่าใดก็ได้ ให้ถือว่าครบองค์ประชุม
ข้อ 13 การประชุมใหญ่วิสามัญจะจัดให้มีขึ้นได้ต่อเมื่อ คณะกรรมการบริหารของสมาคมฯ มีมติด้วยเสียงข้างมากไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของกรรมการบริหารทั้งหมด หรือสมาชิกสามัญไม่น้อยกว่า 50 คน ร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษรต่อ คณะกรรมการบริหารของสมาคม การประชุมใหญ่วิสามัญซึ่งจัดให้มีขึ้น ถ้าหากมีสมาชิกสามัญเข้าประชุมไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ให้นายกสมาคมประกาศว่าการประชุมเป็นอันสิ้นสุด
ข้อ 14 การประชุมใหญ่ ถ้านายกสมาคมฯ อุปนายก ไม่มาร่วมประชุม หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกตั้งกรรมการบริหาร ที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมคราวนี้
ข้อ 15 การประชุมใดๆ ให้ถือเอามติของคะแนนเสียงข้างมาก ในที่ประชุมเป็นข้อตัดสินในกรณีคะแนนเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ 16 หนังสือประชุมใหญ่ ให้ส่งทางไปรษณีย์ไปยังสมาชิกก่อนวันนัดประชุม ไม่น้อยกว่า 15 วัน การนัดประชุมดังกล่าวให้ระบุวัน เวลา สถานที่ และวาระของการประชุมด้วย
หมวดที่ 6
การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหาร
ข้อ 17 คณะกรรมการบริหารชุดเดิมจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ภายใน 6 เดือน นับแต่กรรมการชุดเดิมหมดวาระ
ข้อ 18 ให้สมาชิกสามัญออกคะแนนเสียงเลือกตั้งนายกสมาคม 1 คน อุปนายก 3 คน และเลขาธิการ 1 คน จากบัญชีรายชื่อที่เลขาธิการประกาศไว้ว่ามีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นกรรมการบริหารสมาคม
ข้อ 19 ให้นายกสมาคมเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกสามัญให้ดำรงตำแหน่ง เหรัญญิก นายทะเบียน ปฏิคม วิเทศสัมพันธ์ และประชาสัมพันธ์
ข้อ 20 ให้สมาชิกสามัญ เลือกกรรมการกลางจำนวน 5 คน กรรมการตามความในข้อ 18, 19 รวมกันเรียกว่า “คณะกรรมการบริหารสมาคม” ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 15 คน
ข้อ 21 ในระหว่างที่คณะกรรมการบริหารชุดใหม่ยังมิได้รับตำแหน่งให้คณะกรรมการบริหารชุดเดิมบริหารงานไปพลางก่อน จนกว่าจะมอบหมายหน้าที่ให้เสร็จ ภายในเวลาอันสมควร
ข้อ 22 กรรมการบริหารอยู่ในวาระหนึ่งไม่เกิน 2 ปี
ข้อ 23 นายกสมาคมฯ จะอยู่ในวาระได้ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน
ข้อ 24 ให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง และในการประชุมคณะกรรมการบริหารต้องมีกรรมการมาประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่ง จึงจะครบองค์ประชุม
ข้อ 25 กรรมการบริหารพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
ออกตามวาระ
ลาออก
ขาดจากสมาชิกภาพ ตามข้อ 10
ขาดการประชุมติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง โดยไม่มีเหตุผลที่สมควรและที่ประชุมคณะกรรมการ
บริหารโดยเสียงข้างมากมีมติให้ออก
ข้อ 26 ถ้ากรรมการตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดว่างลงก่อนถึงวาระ คณะกรรมการบริหารอาจจะพิจารณาเชิญสมาชิกที่เหมาะสม เข้าเป็นกรรมการแทนในตำแหน่งที่ว่างและกรรมการผู้นั้นจะดำรงตำแหน่งได้เท่ากับวาระของผู้ที่ตนแทน
หมวดที่ 7
การบริหารสมาคม
ข้อ 27 การบริหารงานของสมาคมฯ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร
การบริหารงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคม
กำหนดระเบียบ กฎ ข้อบังคับและวิธีการการปฏิบัติซึ่งไม่ขัดต่อข้อบังคับของสมาคม
มีอำนาจแต่งตั้งบุคคลและคณะอนุกรรมการต่างๆ เพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของสมาคม
มีหน้าที่ในการหาทุนอุดหนุนการวิจัยและกิจกรรมอื่นๆ ตามวัตถุประสงค์ของสมาคม
ประธานชมรมมีหน้าที่เป็นประธานในการบริหารงานของสมาคมและเป็นผู้แทนของสมาคม ในกิจการภายนอกตามมติของคณะกรรมการบริหารฯ และเป็นประธานในที่ประชุม คณะกรรมการบริหารและการประชุมใหญ่ของสมาคม
อุปนายกมีหน้าที่ทำการแทนนายกในกรณีที่นายกสมาคมไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ และเป็นผู้ช่วยนายกสมาคมและปฏิบัติการใดๆ ตามที่นายกสมาคมมอบหมายในกรณีทำหน้าที่แทนนายกสมาคมให้อุปนายกตามลำดับตำแหน่งการแทน
เลขาธิการมีหน้าที่นัดประชุมกรรมการบริหาร ประชุมใหญ่ บันทึกและเก็บรักษารายงานการประชุม ติดต่อกับสมาชิกหรือบุคคลภายนอกในเรื่องทั่วๆ ไป และกิจการอื่นๆ ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรรมการอื่นใดโดยเฉพาะ
เหรัญญิก มีหน้าที่รับ-จ่ายและเก็บรักษาเงิน ตลอดจนทำบัญชีและเก็บรักษาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับเงิน
นายทะเบียนมีหน้าที่จัดทำและเก็บรักษาทะเบียนสมาชิกตลอดจนเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเป็นสมาชิก และเร่งรัดการชำระเงินค่าบำรุงสมาชิกภาพ
ปฏิคมมีหน้าที่ในการให้การต้อนรับแขกของสมาคม เป็นหัวหน้าในการจัดเตรียมสถานที่ ของสมาคม และจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่างๆ ของสมาคม
วิเทศสัมพันธ์มีหน้าที่ ติดต่อประสานงานกับต่างประเทศ ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสมาคม
27.12 ประชาสัมพันธ์มีหน้าที่เผยแพร่กิจการของสมาคม
หมวดที่ 8
การเงินและการบัญชี
ข้อ 28 การเงินของสมาคมให้จัดการไปตามที่คณะกรรมการบริหารเห็นสมควร
ข้อ 29 เงินของชมรมจะเก็บรักษาไว้เป็นเงินสดได้ในวงเงินไม่เกิน 3,000 บาท นอกจากนั้นแล้วให้นำฝากในธนาคาร หรือสถาบันการเงินโดยมีธนาคารรับรองในนามของสมาคม การสั่งจ่ายเงินของสมาคม ให้นายกสมาคมและเหรัญญิกหรือเลขาธิการลงนามร่วมกัน
ข้อ 30 นายกสมาคมมีอำนาจในการอนุมัติสั่งจ่ายเงินของสมาคม ได้ไม่เกินคราวละ 10,000 บาท ถ้าเกิน 10,000 บาท ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร
ข้อ 31 สมาคมฯ ต้องเก็บรักษาเงินของสมาคมไม่น้อยกว่าร้อยละสิบ ไว้เป็นทุนสำรอง การจ่ายเงินทุนสำรองจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่
ข้อ 32 ให้เหรัญญิกจัดให้มีบัญชีการเงินของสมาคม พร้อมด้วยใบสำคัญและหลักฐานการเงินให้ถูกต้องตามหลักวิชาการบัญชีและให้ตรงต่อความจริงเสมอ หลักฐานเกี่ยวกับการเงินให้อยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของนายกสมาคม เหรัญญิกและเลขาธิการ
ข้อ 33 ให้ที่ประชุมใหญ่แต่งตั้งผู้สอบบัญชีอนุญาต ซึ่งมิใช่กรรมการของสมาคมฯ เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีของสมาคมฯ จำนวน 1 คน ผู้สอบบัญชีมีอำนาจเข้าตรวจสอบบัญชีเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับการเงินต่างๆ ของสมาคมฯ และมีอำนาจเรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาสอบถาม หรือให้ส่งมอบเอกสารใดๆ เกี่ยวกับการเงินของสมาคมฯ ได้
ข้อ 34 ให้ถือเอาวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิ้นงวดบัญชีสมาคม เมื่อถึงวันสิ้นงวดแล้ว ให้เหรัญญิกทำการปิดบัญชีของสมาคม โดยมิชักช้าแล้วจัดส่งงบดุลให้ผู้สอบบัญชีทำการตรวจและรับรอง
ข้อ 35 ให้เหรัญญิกจัดทำบัญชีและงบดุล ซึ่งผ่านการตรวจสอบและรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชีของสมาคม แจ้งให้สมาชิกทราบ
หมวดที่ 9
การแก้ข้อบังคับของสมาคม
ข้อ 36 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อบังคับนี้จะกระทำได้โดยมติไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม
ข้อ 37 สมาคมฯ นี้จะยกเลิกได้ โดยมติของที่ประชุมใหญ่ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของสมาชิกสามัญทั้งหมด
ข้อ 38 เมื่อสมาคมฯ ต้องการยกเลิกไปตามข้อ 37 ให้ทรัพย์สินของสมาคมทั้งหมดตกเป็นสมบัติของสถาบันการศึกษาสถาบันใดสถาบันหนึ่ง หรือหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับหม้อน้ำและภาชนะมีความดัน ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของสมาชิกสามัญทั้งหมด
19 มิ.ย. 2560
19 มิ.ย. 2560